เมนู

ภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์
ด้วยประการฉะนี้.

จบ ทีฆชาณุสูตรที่ 4

อรรถกถาทีฆชาณุสูตรที่ 4


ทีฆชาณุสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า พฺยคฺฆปชฺช นี้ เป็นคำร้องเรียกโกลิยบุตรชื่อทีฆชาณุ
นั้น ด้วยอำนาจประเพณีตั้งชื่อ. จริงอยู่ พรรพบุรุษของโกลิยบุตร
ชื่อทีฆชาณุนั้นเกิดในทางเสือผ่าน เพราะฉะนั้น คนในตระกูลนั้น
เขาจึงเรียกกันว่า พยัคฆปัชชะ บทว่า อิสฺสตฺเถน แปลว่า ด้วยงาน
ของนักรบแม่นธนู. บทว่า ตตฺรุปายาย ความว่า อันเป็นอุบายใน
การงานนั้น เพราะรู้ว่า เวลานี้ควรทำสิ่งนี้. บทว่า วุฑฺฒสีลิโน
แปลว่า ผู้มีศีลอันสมบูรณ์ ผู้มีสมาจารอันหมดจด. บทว่า อายํ
แปลว่า การมา. บทว่า นาจฺโจคาฬฺหํ แปลว่า ไม่เบียดกรอนัก
บทว่า ปริยาทาย ได้แก่. รับมาแล้วใช้จ่ายไป ในข้อนั้น ผู้ใดมีรายได้
เพิ่มขึ้นกว่ารายจ่ายเป็น 2 เท่า รายจ่ายของผู้นั้นไม่สามารถ
ที่จะทำรายได้ให้หมดไป. (สมดังที่ตรัสไว้ในสิงคาลสูตรว่า)
จตุธา วิภเช โภเค ปณฺฑิโต ฆรมาวสํ
เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย
จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย อาปทาสุ ภวิสฺสติ
บัณฑิตบุคคลผู้ครองเรือน พึงแบ่งโภค-
ทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งใช้สอย